เหงาอ้างว้างอยู่คนเดียว? รายงานจากมูลนิธิสถาบันสุขภาพจิตพบว่า 1 ใน 10คนนั้นประสบปัญหาความเหงาบ่อยครั้ง ในขณะที่ 42% ของคนเราเคยตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าเพราะความอ้างว้างโดดเดี่ยวในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต

ความเดียวดายที่ไม่ได้ต้อนรับนี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางอารมณ์ทั่วไป แต่อาจนำไปสู่การทำงานที่แย่ลงของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายและระบบการทำงานของหัวใจอีกด้วย  การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม โดยเฉพาะการสัมผัสเนื้อตัวกันและกันส่งผลให้เกิดการผลิตฮอร์โมนแห่งความผูกพัน ซึ่งช่วยในการรักษาสุขภาพของหัวใจ ทั้งยังมีหลักฐานระบุว่าความเหงาทำให้การควบคุมความประพฤติและความเคยชินที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพเป็นไปได้ยากขึ้น ในรายงานเดียวกันยังระบุอีกว่า ชายหญิงวัยกลางคนที่ว้าเหว่มักดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์มากกว่าปกติ มีการรับโภชนาการสารอาหารที่แย่ และออกกำลังกายน้อยกว่าคนที่มีความพอใจในการปฏิสัมพันธ์เข้าสังคม

แล้วอะไรล่ะคือต้นตอของปัญหาความว้าเหว่นี้? ดูเหมือนว่าความผิดจะตกไปอยู่กับรูปแบบการใช้ชีวิตสมัยใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเข้าสังคมและสื่อสารกับผู้อื่น เราอาจมีอิสรภาพและโอกาสมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนแต่ก็ต้องสูญเสียสิ่งสำคัญไปเช่นกัน มีความเป็นไปได้อย่างมากว่าเราจะต้องอยู่กันอย่างโดดเดี่ยวในปัจจุบัน ห่างไกลจากครอบครัวและสังคมที่เราเติบโตมา   76574545

ยังมีสารไร้เสียงที่เรากำลังส่งออกไปที่ควรจะต้องนำกลับมาขบคิดพิจารณา หากความโดดเดี่ยวนั้นทำให้คุณไร้ความสุข ก็เป็นไปได้มากว่าร่างกายของคุณจะส่งรังสีความท้อแท้สิ้นหวังออกไปแม้จะโดยไม่รู้ตัวก็ตาม ซึ่งอาจเกิดเป็นกำแพงกั้นระหว่างคุณกับผู้อื่น ลองส่องกระจกมองตัวเองตลอดวันและพยายามยืดตัวตรง ผงาดศีรษะและยิ้มไว้ มีการสื่อสารหลายรูปแบบที่เป็นไปแบบไร้คำพูด หากคุณไม่มีสติควบคุมสารที่ส่งออกไปเหล่านั้น คุณอาจกลายเป็นผู้ทำลายความสัมพันธ์รอบตัวของคุณเอง

ถึงที่สุดแล้วจงอย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือ  ไม่ว่าจะจากเพื่อนสนิทหรือจากผู้เชี่ยวชาญ เช่นนักบำบัดหรือผู้ชี้นำคำสอนชีวิต บางครั้งอาจต้องใช้เวลาในการค้นหาเหตุผลว่าทำไมเราถึงรู้สึกอย่างที่เรากำลังเป็นอยู่ แต่แม้ในโลกสมัยใหม่ที่มีแต่ความรวดเร็วสับสนวุ่นวายนี้ ไม่มีใครควรต้องประสบพบกับความเหงาโดดเดี่ยวแน่นอน